
กฎหมาย Vs วัฒนธรรมอันดีงาม : เมื่อพ่อแม่ทำร้ายลูก แต่ลูกฟ้องเอาผิดพ่อไม่ได้จะทำอย่างไร
กฎหมาย Vs วัฒนธรรมอันดีงาม พ่อแม่ทำร้ายลูกนั้นหากว่ากันด้วยกฎหมาย ที่กล่าวว่า กฎหมายคือ สิ่งที่ใช้ในการบริหารประเทศเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับรัฐ อันเกิดจากผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ และ วัฒนธรรม คือ สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ วันนี้ เที่ยวไปทั่ว จะพามารู้จักกับ

กฎหมายและวัฒนธรรมไปด้วยกันได้จริงหรือ? แล้วจะทำอย่างไรเมื่อพ่อแม่ทำร้ายลูก
จากความหมายข้างต้นก็สื่อให้เห็นว่า กฎหมาย และ วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ควรไปด้วยกันได้อย่างสมดุลในประเทศไทยอันเคร่งครัดเรื่องวัฒนธรรมอันดีงามตั้งแต่ในอดีตจนปัจจุบันสุภาษิตที่ว่า ‘รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี’ ก็ยังพบเห็นได้มากมายในข่าวหรือสื่อโซเชียล เช่น พ่อแท้ๆซ้อมลูกวัยสี่ขวบ, ตีด้วยความรักตามประสาแม่ลูก, ลูกรักต้องตีด้วยท่อนไม้, ตีสั่งสอนให้ลูกเลิกขโมย เป็นต้น จาก ‘ลูก’ กลายเป็น ‘เหยื่อ’ พ่อแม่ทำร้ายลูก กฎหมายต้องเข้ามาคุ้มครองเหยื่อ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ถูกกระทำอันเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ถ้าลูกฟ้องพ่อแม่ไม่ได้เมื่อกฎหมายขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามหล่ะเป็นความจริงหรือไม่…และจะต้องทำอย่างไร
กฎหมาย Vs วัฒนธรรมอันดีงาม ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรืออาญาศาลจะไม่สามารถรับฟ้องคดีดังกล่าวได้
เนื่องจากถือเป็น คดีอุทลุม ซึ่งหมายถึง คดีลูกฟ้องพ่อแม่ตัวเอง เป็นข้อต้องห้ามด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติคนสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวได้” จะเห็นว่าแม้จะขัดกับวัฒนธรรมเรื่องบุญคุณของบุพการีความกตัญญูแต่โบราณการในสังคมไทย อีกทั้งอุทลุมตามความหมายพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คือ ผิดประเพณี ผิดธรรมะ นอกแบบ นอกทาง กฎหมายจึงมองว่าการที่ลูกฟ้องพ่อแม่ปู่ย่าตายายนั้นเป็นเรื่องผิดประเพณี พ่อแม่ทำร้ายลูกนั้นทำไม่ได้อย่างแน่นอน
เป็นข้อถกเถียงกันถึงเรื่อง สิทธิมนุษยชน ในตัวของบุตรเมื่อต้องกลายเป็นเหยื่อที่ไม่สามารถฟ้องบุพการีของตนได้ ดังนั้นกฎหมายไม่เพียงแต่จะคำนึงถึงวัฒนธรรมประเพณีเพียงอย่างเดียวยังคำนึงถึงในส่วนของความยุติธรรม (เพื่อไม่ให้ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงามแต่โบราณของสังคมไทย) ที่จะรับฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อดังใจความที่ว่า เมื่อผู้นั้นหรือญาติคนสนิทของผู้นั้นร้องขอ คือสามารถฟ้องได้โดยให้ญาติยื่นเรื่องต่อทนายหรือให้อัยการฟ้องแทนได้นั่นเอง แต่เดี๋ยวก่อนจะมียกเว้นบางกรณีที่ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีได้โดยตรงด้วยนะคะ เช่น กรณีฟ้องบิดา-มารดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฝ่ายพ่อหรือแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรไว้) หรือในฐานะผู้ถือหุ้น/คณะกรรมการบริษัท
สุดท้ายนี้นอกจากความรู้ด้านกฎหมายแล้ว ผู้เขียนหวังว่าพ่อแม่ทำร้ายลูกนั้นจะหมดไปและเลิกใช้ความรุนแรงโดยการอ้างว่าเป็นการสั่งสอน เรื่องที่ดีที่ควรไม่ควรแลกมาด้วยความบอบช้ำทางร่างกายหรือจิตใจ แต่ควรเป็นการตักเตือนด้วยเหตุผล อย่าสร้างแผลในใจที่อยู่กับลูกไปตลอดชีวิต ลูกไม่ได้เลือกที่ขอมาจะเกิด พ่อแม่ต่างหากที่เป็นคนเลือกให้ลูกเกิดเมื่อตัดสินใจแล้วโปรดมอบความรักในทางที่ควรให้ดีที่สุดคุณควรที่จะพร้อมทั้งในเรื่องของจิตใจและความเป็นคนอย่างแท้จริง

ขอบคุณข้อมูลจาก :
Law Inspiration https://m.facebook.com/lawinspiration/posts/1526239260831086และ สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน https://www.orst.go.th/iwfm_splash.asp