มังสวิรัติฉบับญี่ปุ่น : ไม่ทานเนื้อ แต่ทานปลา

by thiaopaithua
0 comment
มังสวิรัติ

มังสวิรัติฉบับญี่ปุ่น : ไม่ทานเนื้อ แต่ทานปลา

การทานมังสวิรัติได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในนานาประเทศซึ่งเหตุผลหลักของการทานตามแนวคิดทางศาสนาศีลธรรม หรือแนวคิดเชิงสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น อย่างที่ทราบกันว่าการทาน มังสวิรัติ สามารถทานไข่ นม เนยได้ แม้จะเคร่งการงดเนื้อสัตว์เหมือนการทานเจเน้นผัก ถั่วและเห็ด 

มังสวิรัติ

แต่รู้หรือไม่มังสวิรัติชาวญี่ปุ่น ไม่ทานเนื้อ แต่ทานปลา

ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ยุคนารา (ค.ศ.710 – 794) เลยทีเดียว…วันนี้เราจะมาคำตอบกันค่ะ 

จากบล็อก ‘tofugu’ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ระบุเกี่ยวกับมังสวิรัติของญี่ปุ่นว่าได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก ศีลข้อที่ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในการเคารพให้คุณค่าทุกชีวิต หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ แนะให้กินมังสวิรัติ โดยเฉพาะพระสงฆ์งดเว้นการทานเนื้อสัตว์อย่างเคร่งครัดส่งผลต่อการประกอบอาหารญี่ปุ่นอย่างมากทำให้ ‘ชาวญี่ปุ่นค้นพบวิธีการทำรสชาติอูมามิจากผัก’ ตั้งแต่ยุคนาราเป็นต้นมาจนถึงยุคคามาคุระที่ศีลปาณาติบาตผ่อนปรนลงไปกลายเป็นอาหารเฉพาะกลุ่มเท่านั้น (ยุคที่พระสงฆ์บางนิกายสามารถแต่งงานมีลูกและทานสัตว์ได้) ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นถูกห้อมล้อมไปด้วยทะเลทั้ง 4 ด้าน และเป็นน้ำทะเลที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายสูงจึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำจำพวกปลาทะเลขนาดใหญ่ถือเป็นปลาที่ให้คุณค่าทางอาหารชั้นดีมีรสชาติ ‘อูมามิ’ กลมกล่อม สมัยก่อนนั้นกว่าจะได้กินปลาก็ยากมากเลยทีเดียว และที่สำคัญชาวพุทธญี่ปุ่นในประวัติศาสตร์ในช่วงงดเว้นเนื้อสัตว์แยกจำพวก เนื้อคือเนื้อ ปลาคือปลา (เนื่องจากไม่ได้เชือดมันตายเอง) อย่างนั้นค่ะ

มังสวิรัติ

แม้ว่าปัจจุบันปลากลายเป็นอาหารหลักในประเทศญี่ปุ่นแม้กระทั่งน้ำซุปก็ถูกเคี่ยวจากปลา เช่น ปลาซาร์ดีนตากแห้ง โดยบางกลุ่มมีความเชื่อว่าทำให้อายุยืนยาวเนื่องจากปลาเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ญี่ปุ่นยังมีประเภทอาหาร ‘โชจิน เรียวริ’ สำหรับพระบางนิกายที่เคร่งครัดเรื่องการไม่แตะต้องสิ่งมีชีวิตใด ๆ แม้กระทั่งรากของผักที่ถูกตัด (ทานเฉพาะใบและผล) การทานมังสวิรัติปัจจุบันมีหลายประเภท  ไม่ว่าจะเป็น

ประเภทที่ 1 รับประทานนมและไข่ งดเนื้อสัตว์

ประเภทที่ 2 รับประทานนม งดไข่และเนื้อสัตว์

ประเภทที่ 3 รับประทานทานไข่ งดนมและเนื้อสัตว์

ประเภทที่ 4 ไม่รับประทานผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์อย่างเคร่งครัด

ประเภทที่ 5 รับประทานปลา และอาหารทะเล

ประเภทที่ 6 รับประทานปลา ไก่ นม และไข่ งดเว้นทานสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว

ดังเช่นที่ก้าวมาข้างต้น แม้จะเป็นมังสวิรัติเช่นเดียวกันแต่จากคำจำกัดความที่หลากหลาย ทำให้เกิดรับประทานที่อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันไปตามประเภทด้วยสภาพแวดล้อมประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งควรให้ความเคารพไม่ก้าวก่ายความเชื่อ วัฒนธรรมและหลักการปฏิบัติของแต่ละบุคคล อ่านบทความที่น่าสนใจ เที่ยวไปทั่ว
ขอบคุณที่มาจาก : https://news.livedoor.com/article/detail/7596407/

You may also like

Leave a Comment