
5 สิ่งที่คุณจะพบในวัฒนธรรมญี่ปุ่นแต่ไม่พบในวัฒนธรรมไทย!!
เมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ดีขึ้นแล้วนั้นหลายคนคงนึกถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นและดินแดนอาทิตย์อุทัยอย่างประเทศญี่ปุ่นคงเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางยอดนิยมของใครหลายคนที่หวนคิดถึงอยากจะเดินทางกลับไปสัมผัสหรือลองไปสักครั้ง แต่เดี๋ยวก่อนอย่าลืมเชียวประเทศญี่ปุ่นเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและมารยาทมากมาย งั้นเรามาลองส่องตัวอย่างวัฒนธรรมที่คุณจะพบในญี่ปุ่นแต่ไม่พบในไทยกันก่อนดีกว่า!! วันนี้้ เที่ยวไปทั่ว จะพามาดูตัวอย่างวัฒณธรรมของประเทศญี่ปุ่นกันเลย
ตัวอย่างวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่พบบ่อย ๆ ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยดีกว่า
- พระสงฆ์สามารถแต่งงานและดื่มเหล้าได้
ในญี่ปุ่น “การแต่งงานเป็นนโยบายประเทศ” จัดเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งฟังครั้งแรกอาจจะ ดูแปลกใหม่แต่มีเหตุผลสนับสนุนอยู่ แม้ตามหลักพระพุทธศาสนาพระภิกษุสงฆ์ ทั่วโลกต้องเคร่งครัดต่อบทบัญญัติวินัยเรื่องการแตะกายสตรี หรือห้ามอยู่กับสตรีสองต่อสอง แต่หลังการกวาดล้างตามคำสั่งของรัฐบาลในสมััยเมจิ ในปี ค.ศ.1870 ต่อมาในปี ค.ศ.1872 ได้มีการประกาศตามมาในเรื่องการรับประทานเนื้อสัตว์และการแตะกายสตรีเป็นเรื่องที่ไม่บังคับ พระภิกษุสงฆ์จึงได้รับการปฏิบัติเช่นบุคคลธรรมดาทั่วไป (แต่ยังมีบางนิกาย เช่น นิกายนิจิเร็นชูฟุจุฟุเสะที่เคร่งครัดอยู่เหมือนกัน)
- เลข 9 ไม่เป็นมงคล วัฒนธรรมญี่ปุ่นนี้ตรงข้ามกับไทยมาก
เลข 9 ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า 九: คุ ซึ่งดันไปพ้องเสียงกับคำว่า 苦しみ: คุรุชิมิ แปลว่า ความทรมาน,ความลำบาก ถือเป็นเลขอัปมงคลควรหลีกเลี่ยงการใช้ ซึ่งตรงข้ามกับประเทศไทยอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังหลีกเลี่ยงการใช้เลข 4 四 (shi) ที่อ่านออกพ้องเสียงกับคำว่าตายอีกด้วย โรงพยาบาลในญี่ปุ่นหลายแห่งไม่ออกแบบห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้องทำแผล ให้อยู่ชั้น 4 เพื่อเป็นการรักษาน้ำใจคนไข้เลยค่ะ
- ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นการสวมหน้ากากอนามัยเป็นปกติที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน (ทั้งก่อนและหลังการระบาดโควิด-19)
ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ แต่โดยปกติแล้วที่ญี่ปุ่นไม่ว่าเราจะเดินไปทางไหนเรามักจะเห็นส่วนใหญ่สวมหน้ากากอยู่ตลอดนอกจากการระวังเรื่องหวัด การแพ้เกสรดอกไม้ ยังมีเรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัว เพื่อความสบายใจเวลาออกไปทำกิจกรรมในที่สาธารณะอีกด้วย จนกลายเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยปริยาย (ทำงานเหนื่อยก็หลีกเลี่ยงความวุ่นวายภายนอกซะเลย) หรือกับผู้หญิงวัยทำงานที่บางวันไม่ได้แต่งหน้า(หนึ่งในการรักษามารยาทที่ญี่ปุ่น)การสวมหน้ากากก็พลางได้ดีเหมือนกันนะคะ
- วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเมื่อเครื่องเคียงมาเสิร์ฟที่โต๊ะแม้ไม่ทานก็ต้องรับ
มาจากแนวคิด “Omotenashi” (โอะโมะเตะนาชิ) แปลว่า หัวใจการให้บริการของญี่ปุ่น เราจะพบเห็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นนี้ได้ทั่วไปเมื่อเดินเข้าไปนั่งในร้านอาหารญี่ปุ่น เครื่องเคียงจะเสิร์ฟก่อนอาหารจานหลักเพื่อแสดงถึงความใส่ใจในการต้อนรับแขกให้เกิดความทรงจำที่ดีร่วมกัน (ราคาต่ำสุดประมาณ 300 เยน บางร้านหากสั่งเหล้าอาจมีเครื่องเคียงแถมฟรี) ไม่ทานก็ต้องรับตามมารยาทนะคะมินนะซัง
- วันวาเลนไทน์ฝ่ายหญิงมักเป็นคนให้ช็อคโกแลตฝ่ายชายในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ในช่วงปี 1936 ร้านขนม Kobe Morozoff ได้ทำการตลาดให้ช็อคโกแลตเป็นของขวัญในเทศกาลแห่งความรัก โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายทั้งเพศหญิงและชาย ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ จนมาปี 1958 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากอเมริกาเรื่อง Woman’s Liberation ผู้หญิงเป็นผู้นำเรื่องความรัก บริษัท Mary Chocolate จึงได้จัดแคมเปญวันวาเลนไทน์โดยอิงจากกลุ่มลูกค้ามีการเสนอให้ฝ่ายหญิงมอบช็อคโกแลตเป็นของขวัญแทนความรักให้กับฝ่ายชาย ส่งผลให้การตลาดของ Mary Chocolate สำเร็จจนเป็นไวรัลในวัฒนธรรมญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบันเลย

จบไปแล้วกับตัวอย่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่โดดเด่นทั้งนั้นแต่อาจจะหาพบได้ยากในไทย ดังสุภาษิตที่ว่า ‘เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม’ หรือ ‘When in Rome do as Roman do ทำตัวให้เหมือนคนโรมัน เมื่ออยู่กรุงโรม’ เมื่อไปต่างถิ่นก็อย่าลืมปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสถานที่ ปรับตัวและเคารพให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันนะคะ